Page 26 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 26

2.4.1 จุดแข็ง


                              1. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท
               ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  แผนปฏิรูปประเทศ และดำเนินงานภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว.

               และแผน อววน. ในการมีส่วนในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในการแก้โจทย์/ประเด็น

               ปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม

                              2. สร้างและมีกลไกรวมทั้งวางระบบนวัตกรรมชุมชนไว้ระดับหนึ่ง โดยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต

               งานวิจัยหรือสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาในพื้นที่ กับชุมชนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
               ฐานรากและลดความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึงองค์ความรู้ผ่านแผนงานและโครงการหลากหลาย อาทิ โครงการ

               KM และ RC รวมโครงการเครือข่าย ฯลฯ
                              3. มีการปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ (Regulatory Reform) เกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์

               งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการทำวิจัยและนำงานวิจัยเพื่อการไปใช้ประโยชน์ได้

               อย่างเป็นรูปธรรม และลดอุปสรรคในการดำเนินการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างหน่วยงานให้ทุนและผู้รับ
               ทุน และส่งเสริมการวิจัยของภาคเอกชนให้เกิดการสร้างและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาด้านการใช้
               IP Ownership แก่ผู้รับทุน


                              4. เป็นหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัย ที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารงบทุนวิจัยทำให้เกิดความ
               คล่องตัวและมีความโดดเด่นในด้านการจัดสรรงบประมาณเพื่อการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดและขยาย

               ผลงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ มาอย่างต่อเนื่องทุกปี

                              5. มีระบบข้อมูลสารสนเทศการวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and
               Innovation Information System: NRIIS) และระบบประเมินความพร้อมของผลงานวิจัยเพื่อการใช้

               ประโยชน์และพัฒนานวัตกรรม (Innovation & Research Readiness Assessment System : IRAS) เพื่อ
               สนับสนุนด้านการนำงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์



                        2.4.2 จุดอ่อน

                              1.ข้อจำกัดในระบบการจัดงบประมาณสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมที่ขาดความต่อเนื่อง
               จนถึงขั้นตอนของการส่งเสริมและสนับสนุนการต่อยอดและขยายผลสู่การใช้ประโยชน์

                              2. ยังขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคผู้ผลิตความรู้

               (มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย) และภาคการผลิตและบริการ โดยเฉพาะการขาดกลยุทธ์และประสบการณ์ในการ
               ทำงานกับภาคเอกชน และวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม

                              3. ยังขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการบริหารความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายใน
               ระดับพื้นที่ ระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมไป

               แก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน

                              4. ยังขาดระบบในการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ที่สะท้อน
               ผลประโยชน์ตอบแทนและความคุ้มค่าของการลงทุนด้านการวิจัยในภาพรวมของ วช. อย่างเป็นรูปธรรม



                                                            - 18 -
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31