Page 46 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 46

5.3.2 แผนขับเคลื่อนแผนปฏิบัติฯ สู่การปฏิบัติจริง


                       5.3.2.1 ก่อนการด าเนินโครงการ

                       1.  การจัดทำกรอบการวิจัย วช. ได้มีการจัดทำกรอบการวิจัย ซึ่งจะสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
               (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และแผนแม่บทภายใต้

               ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ประเด็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์

               การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2570) โดยผ่านการวิพากษ์จาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาครัฐ
               และเอกชน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งทบทวนงานวิจัยที่ วช .ให้การสนับสนุนเดิม และกำหนดกรอบการ

               วิจัยใหม่ โดยวิเคราะห์ช่องว่างที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เชิงประเด็นและความซ้ำซ้อนเชิงพื้นที่ รวมทั้ง

               การกำหนดเป้าหมาย OKR โดยกระบวนการหลัก ประกอบด้วย

                         1.1 การประชุมเพื่อจัดทำร่างกรอบการวิจัย โดยในกระบวนการนี้จะเป็นการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิที่มา
               จากหน่วยานหลักในระดับนโยบายของประเด็นที่เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้แทนกรม สภา

               อุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ วช. ได้มีคณะกรรมการอำนวยการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม (Board 1) ทำ

               หน้าที่อำนวยการ สนับสนุน ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม ให้มี
               ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ตามยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

               ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ประเด็นการวิจัยและ
               พัฒนานวัตกรรม และนโยบายที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมตาม

               ประเด็นเป้าหมาย (Board 2) ทำหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกรอบการวิจัย กรอบวงเงิน กรอบการดำเนินงาน

               ตามประเด็นกลุ่มเรื่อง ได้แก่
                                   1. ด้านสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม

                                   2. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

                                   3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
                                   4. ด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่

                                   5. ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ


                         1.2 ประชุมเพื่อนำเสนอร่างที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ซึ่งจะเป็นการประชุมในกลุ่มที่ครอบคลุมทุกภาค
               ส่วนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงาน นักวิจัย ผู้ต้องการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น

                         1.3 การประชาพิจารณ์ จะเป็นการดำเนินงานผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี

               บทบาทในการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

                       2. การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรมีการดำเนินงานในรูปแบบ ต่าง ๆ ได้แก่


                         2.1 การกำหนดให้มีเอกสารแสดงความต้องการในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดย
               รายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ เช่น





                                                            - 35 -
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51