Page 47 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 47
1. รูปแบบและแนวทางในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
2. ข้อจำกัดในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
3. โอกาสในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
2.2 การพิจารณาเพื่อสนับสนุนโครงการ โดยมีการให้น้ำหนัก กับโครงการที่มีหลักฐานผู้ต้องการใช้
ประโยชน์อย่างชัดเจน หรือมีแนวโน้มที่จะประสบผลสำเร็จในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์
2.3 ปรับเปลี่ยนจากการวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปทาน (Supply side) ที่ตอบโจทย์ของ
ผู้วิจัยไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปสงค์ (Demand side) เพื่อตอบโจทย์ประเทศ ภาคเศรษฐกิจ และ
ภาคสังคม
2.4 การประสานงานและประชาสัมพันธ์กับนักวิจัย รับรู้รับทราบถึงความสำคัญและความจำเป็น
ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยอาจกำหนดให้ระบุตัวชี้วัดในเรื่องของการนำผลงานวิจัยไปใช้
ประโยชน์ที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลโรงการในประเด็นดังกล่าว ทุกครั้งพร้อมกับ
การปิดโครงการ หรือกำหนดให้มีการติดตามประเมินผล และส่งข้อมูลให้ วช. หลังโครงการวิจัยเสร็จสิ้น ตาม
เงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม
2.5 การกำหนดเงื่อนไห้นักวิจัยนำเข้าข้อมูลโครงการวิจัยในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและ
นวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System : NRIIS) ในส่วนของการ
รายงานผลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
2.6 การดำเนินงานในรูปแบบของ Matching Fund ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน หรือผู้ผลิต
เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจและการตลาดของเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ รวมไปถึงการสนับสนุนการ
พัฒนาโดยกำหนดให้การร่วมทุนงานวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
5.3.2.2 ระหว่างการด าเนินโครงการ
ในระหว่างการดำเนินโครงการ วช. มีกลไกที่เชื่อมโยงสู่การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
1. วช. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการโดยกลไกคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับ ในรูปแบบ
การรายงาน การประชุม และการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในพื้นที่ รวมทั้งขับเคลื่อนงานวิจัย ส่งเสริมการ
นำไปใช้ประโยชน์ ถ่ายทอดความรู้โดยมีระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National
Research and Innovation Information System: NRIIS) เป็นเครื่องมือ
- 36 -