Page 53 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 53

บทที่ 6 การติดตามและประเมินผล






                       ส านักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลตั้งแต่ก่อนดำเนินการ
               (Ex-ante Evaluation) กำลังดำเนินการ (On-going Evaluation) หลังดำเนินการเสร็จสิ้น (Ex-post

               Evaluation) รวมทั้งการประเมินผลหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ 3-5 ปี และ 5-10 ปี (Follow

               up Evaluation) รวมทั้งได้มีการกำหนดกรอบการวิเคราะห์การติดตามและประเมินผลการวิจัยและนวัตกรรม

               ที่เน้นให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างปัจจัยนำเข้า (Input) ระบบนิเวศน์การวิจัยและนัวตกรรม (Eco-

               system) และปัจจัยแวดล้อมทางสถาบัน เพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

               (Output) บนเส้นทางการวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งสร้างกลไกที่นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
               ในเชิงพาณิชย์ สังคม/ชุมชน นโยบาย และวิชาการได้ จนก่อให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) มากมาย ซึ่งเชื่อมโยง

               กับเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เช่น รายได้ของเกษตรกรสูงขึ้น และผลิต

               ภาพการผลิตดีขึ้น เป็นต้น และส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ สังคมสะอาดสู่สังคมสีเขียว

               และคุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งการติดตามและ

               ประเมินผลการวิจัยและพัฒนาจะต้อง แบ่งออกเป็ น 3 ระดับ คือ







                             ระดับที่หนึ่ง

                         การติดตามและประเมินผลเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic based Monitoring and Evaluation) เป็น

               การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในทุกระดับตั้งแต่แผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์
               จัดสรร แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะวิเคราะห์ตั้งแต่

               การเตรียมปัจจัยนำเข้า และการสร้างสภาพแวดล้อมทางสถาบันหรือระบบนิเวศน์ให้เอื้อต่อการสร้างและการ
               นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนา บุคคลากรวิจัย

               และนักวิจัย โครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัย และกฎหมายที่เอื้อต่อ

               การวิจัยและนวัตกรรม เป็นต้น ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายตัวชี้วัดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ
               หลังจากนั้นก็จึงวิเคราะห์ผลผลิตที่เกิดขึ้น เช่น องค์ความรู้ใหม่ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ซึ่ง

               จะเป็นได้ทั้งในรูปของสิ่งตีพิมพ์ สิ่งประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นการทำวิจัยของไทย ที่สามารถเชื่อมโยงกับ

               เป้าหมายตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์วิจัย 20 ปี และแผนบูรณาการวิจัยและนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ






                                                            - 40 -
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58