Page 54 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 54
รวมทั้งได้กำหนดกลไกในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ เช่น การจัดให้เกิดการจับคู่ระหว่างผู้ผลิตและ
ผู้ใช้ การจัดงานวันนักประดิษฐ์ และการโชว์ผลงานวิจัย เป็นต้น จนทำให้เกิดมีการใช้ประโยชน์ทั้งในเชิง
วิชาการ ซึ่งพิจารณาได้จากสิ่งตีพิมพ์ที่ถูกอ้างอิง และในเชิงพาณิชย์ทั้งในแง่ของปรับปรุงกระบวนการผลิต และ
ผลิตภัณฑ์ จนเกิดผลลัพธ์และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งการติดตามและประเมินผลในระดับประเด็น
พัฒนาและระดับโครงการจะมีความสำคัญมากต่อการประเมินในระดับยุทธศาสตร์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จาก
การลดต้น เพิ่มคุณภาพสินค้า ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รายได้เพิ่มขึ้น ของกลุ่มเป้าหมายที่นำผลงานวิจัยไปใช้
ประโยชน์ เป็นต้น รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในเชิงชุมชนและสังคม และการใช้ประโยชน์ในเชิง
นโยบายก็เช่นกันที่ต้องวิเคราะห์ทั้งจาก ภาพรวม เช่น สัดส่วนของการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีที่
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่อการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีทั้งหมด เป็นต้น และจากข้อมูลจากโครงการและกลุ่ม
โครงการ เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน เพิ่มรายได้ชุมชน สร้างสภาพแวดล้อมชุมชน การดูแลผู้สูงอายุ
เป็นต้น ดังนั้นจุดเชื่อมโยงของการติดตามและประเมินผลทั้งสามระดับก็คือผลลัพธ์และผลกระทบจึงมี
ความสำคัญมาก
ระดับที่สอง
การติดตามและประเมินผลเชิงประเด็นพัฒนา (Agenda based and Agenda-Area based
Monitoring and Evaluation) เป็นการติดตามและประเมินผลกลุ่มโครงการตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่
มูลค่าของประเด็นพัฒนานั้น ๆ ส่วนใหญ่ประเด็นพัฒนาจะมีลักษณะหลากหลาย (Cross-cutting) ที่ต้อง
ดำเนินการให้ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและเป้าหมายร่วมที่มีทั้งในลักษณะของปัจจัยนำเข้าร่วม เช่น
จำนวนโครงการ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ดำเนินโครงการ จำนวนนักวิจัย ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐาน และผลผลิตร่วม เช่น
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งผลลัพธ์และกลุ่มผลกระทบร่วม ซึ่งการเก็บ
ข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง ข้อมูลปฐมภูมิ ที่ได้มาจากการให้ผู้ดำเนินโครงการแต่ละโครงการจะ
รายงานผลการดำเนินงานเข้าไปในระบบฐานข้อมูลกลางของระบบวิจัย ซึ่งถือว่าเป็นการติดตามและ
ประเมินผลด้วยตนเองหรือจากภายใน (Self-Assessment or Inside-Out) เพื่อสร้างกระบวนเรียนรู้ให้เกิด
การพัฒนาตนเอง (Learning Curve) และข้อมูลปฐมภูมิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากการ
ประเมินผลโครงการ ส่วนที่สอง ข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นพัฒนานั้น ๆ และมีการ
วิเคราะห์ความคุ้มค่ากลุ่มโครงการหรือประเด็นพัฒนาทางเศรษฐศาสตร์ที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนต้นทุนหรือ
ค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Economic Surplus) นอกจากนี้ยังสามารถประเมินผลในลักษณะประเด็นพัฒนา
เชิงพื้นที่ (Agenda-Area based Evaluation) เป็นการวิเคราะห์กระจุกและกระจายของโครงการภายใต้
ประเด็นพัฒนาไปตามพื้นที่ต่างๆ และจึงวิเคราะห์ว่ากลุ่มโครงการหรือประเด็นพัฒนานั้นๆ มีผลต่อการพัฒนา
จังหวัดและชุมชนอย่างไร ซึ่งก็ดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการประเมินผลประเด็นพัฒนา
- 41 -