Page 55 - แผนปฏิบัติการด้านการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม (พ.ศ. 2563-2565)
P. 55
ระดับที่สาม
การติดตามและประเมินผลเชิงโครงการ (Project based Monitoring and Evaluation) แบ่งออกเป็น 2
ส่วน คือ หนึ่ง การประเมินผลโครงการโดยเจ้าของโครงการที่เรียกว่าประเมินตนเอง (Supply Side) แล้วรายงานผล
นี้ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น โครงการวิจัยและนวัตกรรมจะต้องมีการรายงานผลเข้าระบบฐานข้อมูลกลางของ
ระบบวิจัย เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลในลักษณะกลุ่มโครงการดังที่กล่าวมากแล้วข้างต้น สอง การประเมินผล
ผู้ใช้ประโยชน์ (Demand Side) เป็นการประเมินผลจากภายนอก (Outside-in) เพื่อประเมินผลความสำเร็จของการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Technological Transfer) สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สังคม สิ่งแวดล้อม
และนโยบาย และยังเป็นการติดตามความต่อเนื่องของโครงการอีกด้วย รวมทั้งความเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ของ
ระหว่างผู้ให้ประโยชน์และผู้รับประโยชน์ในระบบนวัตกรรม ยิ่งไปกว่านั้นเพื่อประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบ ความคุ้ม
ค่าที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้ประโยชน์ของโครงการหลังได้รับการถ่ายถอดเทคโนโลยี นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความโปร่งใส
ในการประเมินผลโครงการที่ถูกวิเคราะห์ทั้งผู้ให้ประโยชน์และผู้รับประโยชน์จะลดค่าความไม่เที่ยงของการให้ข้อมูล
หลักการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม วช. จะใช้ในการติดตามและ
ประเมินผลเชิงพัฒนา (Developmental Evaluation) ซึ่งเน้นการวัดผลเชิงประจักษ์ตามความจริงเพื่อแก้ไข
ข้อผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง และใช้ประโยชน์จากการติดตามและประเมินผล โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมมือกัน
ดำเนินการติดตามและประเมินผลตั้งแต่การวางแผน (Planning) ต้องมีการวางระบบการติดตามประเมินผล
ก่อนนำแผนสู่การปฏิบัติ (Ex-ante Evaluation) และในขั้นต่อไปเป็นการนำแผนสู่การปฏิบัติ
(Do/Implementation) เป็นการประเมินผลหลังจากที่นำแผนสู่การปฏิบัติ (Post Implementation) ซึ่งเป็น
การประเมินผลที่ในขณะที่ปฏิบัติงาน (On-going Evaluation) และการประเมินผลเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
(Check) เป็นการประเมินผลเมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว (Ex-post Evaluation) จะใช้หลักการ MERL
M = Monitoring เป็นขั้นของตามให้แผนงาน/โครงการดำเนินตามตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์หรือวัตถุประสงค์
ที่ตั้งไว้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (ประสิทธิผล) ส่วน E = Evaluation เป็นการประเมินผลวัตถุประสงค์ของ
แผนงาน/โครงการที่ออกแบบ ปฏิบัติ ผลประโยชน์ที่คาดหวังไว้ทั้งในขณะที่ดำเนินการและหลังเสร็จโครงการ/
แผนงานแล้ว สำหรับ R = Report/Reflection/Resolution ก็ได้ ซึ่งเป็นกระบวนการของการวิเคราะห์ปัญหา
และอุปสรรคในขณะที่ติดตามและประเมินผล สุดท้ายคือ L= Learning เป็นกระบวนการถอดบทเรียนจากการ
นำแผนสู่การปฏิบัติเพื่อทำให้เกิดประสิทธิผลและความยั่งยืนได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการเรียนรู้สามารถได้มาจาก
เอกสาร การศึกษาต้นแบบเพื่อแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และบทเรียนซึ่งจะเกิดจากการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ในกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสำรวจตรวจสอบว่าอะไรที่สำเร็จและอะไรที่ล้มเหลว นำไปเป็นข้อมูล
สร้างนวัตกรรมเพื่อเสนอแนวทางพัฒนาและยกระดับ (Enhance) แผนงาน/โครงการ/ยุทธศาสตร์ ไปสู่การคิด
ใหม่ ทำใหม่ และมีผลลัพธ์ใหม่ ต่อยอดไปเรื่อย ๆ (Over time/Spiral Effect)
- 42 -