Page 10 - NRCt_114
P. 10

รอบรู้งานวิจัย

          การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย





                 จรรยาวิชาชีพวิจัยถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ได้มาตรฐานคุณภาพนักวิจัย ซึ่งเป็นไปตามหลัก

          วิชาการและวิชาชีพวิจัยเพื่อน�าไปสู่การพัฒนามาตรฐานคุณภาพนักวิจัยของประเทศไทยสู่ระดับสากล โดย
          การกระท�าต่อไปนี้ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย และนักวิจัยไม่สมควรกระท�าอย่างยิ่ง คือ




          1         การคัดลอกงานหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน งานและผลงานดังกล่าว เช่น

            แนวคิด ภาษา ถ้อยค�า ข้อความ คติพจน์ สุภาษิต ภาพเขียน ภาพถ่าย รูปปั้น รูปจ�าลอง
            ท�านองเพลง และผลงานใด ๆ ของผู้อื่น เป็นต้น ไม่ว่าจะน�ามาเพียงทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ

            น�าเอามาท�าใหม่ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างให้ผู้อื่นท�าให้ โดยมีการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับปรุง
            ใหม่ แล้วเสนองานหรือผลงานนั้นประหนึ่งว่าเป็นของตน โดยปกปิดข้อความจริงที่ควรบอก
            ให้ชัดแจ้ง ท�าให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดว่าเป็นของตน การกระท�าเช่นนี้ เป็นความไม่ซื่อสัตย์หรือ
            เป็นการหลอกลวงทางวิชาการและการขาดจิตส�านึกในความมีจรรยาหรือความประพฤติที่ดี
                             2         การคัดลอกผลงานของตนเอง โดยนักวิจัยคัดลอก หรือน�าผลงานของตนเองที่เหมือนเดิม หรือ

                                เกือบเหมือนเดิม หรือน�ามาเพียงบางส่วนกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีการอ้างถึงผลงานเดิมของตน
                                รวมทั้งน�าผลงานมารายงานเพิ่มเติม หรือปรับแต่งให้ต่างไปจากเดิม เพื่อท�าให้ผู้อื่นเข้าใจผิดพลาด

                                คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง หรือเข้าใจว่าเป็นผลงานค้นพบใหม่ จนเกิดความผิดพลาดในการอ้างอิง
                                แหล่งที่มาของข้อมูล
          3         การปกปิด บิดเบือน แก้ไขข้อมูล ข้อความ หรือกระท�าการใด ๆ ในกระบวนการวิจัย

            และการรายงานผลการวิจัยที่ท�าให้ผิดไปจากความเป็นจริง โดยการตัดทอน หรือเพิ่มเติม หรือ
            ดัดแปลงปรุงแต่ง แก้ไขข้อมูล ข้อความ หรือการปฏิบัติอื่นใดในกระบวนการวิจัยและรายงาน
            ข้อค้นพบจากการวิจัย เพื่อให้เป็นไปตามข้อสรุปที่ตนต้องการ การกระท�าเช่นนี้เป็นการน�าเสนอ
            เรื่องหรือสิ่งอันเป็นเท็จ เป็นการกระท�าผิดด้านวิชาการ วิชาชีพ และอาจถึงขั้นผิดกฎหมาย
            รวมถึงการขาดจิตส�านึกในความมีจรรยา หรือความประพฤติที่ดี

                             4         การสร้างข้อมูลเท็จ หรือจงใจปั้นแต่งข้อมูลให้ผิดไปจากความเป็นจริงที่พบจากการวิจัย หรือ

                                หลีกเลี่ยงที่จะน�าเสนอเรื่องหรือสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ถือเป็นการหลอกลวง และกระท�าผิดทั้ง
                                ด้านวิชาการ วิชาชีพ และความมีจรรยาหรือความประพฤติที่ดี
          5         การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือความลับของผู้รับการวิจัย ที่นักวิจัยได้กระท�าไปโดยไม่ได้

            รับค�ายินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้รับการวิจัย ท�าให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับการวิจัยเป็นส่วนตัว
            ไม่ว่าในทางใดก็ตาม รวมทั้งความมีชื่อเสียง นอกจากนี้ การที่นักวิจัยไม่ระมัดระวังในการน�าเสนอ

            ข้อมูลหรือรายงานผลงานวิจัย ท�าให้สามารถคาดเดาตัวบุคคลที่กล่าวถึงได้ ก็ถือเป็นการกระท�าที่
            ขาดความรับผิดชอบ และขาดจิตส�านึกในความมีจรรยาหรือความประพฤติที่ดี




                                   ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ “จรรยาวิชาชีพวิจัย และแนวทางปฏิบัติ”

                 จัดท�าโดย ส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เลขที่ 196 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

                 * ข้อมูลบทความ “การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย” เป็นเพียงบางส่วนบางตอน จากหนังสือ จรรยาวิชาชีพวิจัย และ
          แนวทางปฏิบัติ เท่านั้น

                                                                                    สำ�นักง�นก�รวิจัยแห่งช�ติ (วช.)
         10                                                                         National Research Council of Thailand (NRCT)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15