Page 14 -
P. 14

กิจกรรม วช.



             วช. และ ราชบัณฑิตยสภา รวมพลังระดมสมองผู้ทรงคุณวุฒิชั้นน�า

                   ร่วมกันขับเคลื่อนประเด็นท้าทายทางสังคมของประเทศ


                                                    ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อ�านวยการส�านักงานการวิจัย
                                             แห่งชาติ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา
                                             กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับ ราชบัณฑิตยสภา โดยการ
                                              ระดมสมองราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส ผนึกก�าลังบุคลากรวิจัย
                                             ชั้นน�าของประเทศในแต่ละมิติในการสร้างสรรค์งานวิจัยที่ตอบโจทย์ เชื่อมต่อ และใช้ให้
          เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศเพื่อการขับเคลื่อนด้านการวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นท้าทายทางสังคมของประเทศไทย ซึ่งจากบทบาท
          และหน้าที่ของทั้ง วช. และ ราชบัณฑิตยสภา ที่สามารถส่งเสริมและต่อยอดกันและกันในการร่วมสร้างองค์ความรู้หลักให้กับประเทศให้มีความ
          แข็งแกร่ง น�าไปสู่การยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์
          มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ รวมถึง ด้านกฎหมาย การเมือง และศิลปกรรม ส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา
          วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนการด�าเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่ส�าคัญ
          ของประเทศจึงร่วมกับราชบัณฑิตยสภาจัดท�าโครงการ “ประเทศไทยในอนาคต (Future Thailand)” ขึ้น เพื่อฉายภาพอนาคตที่เป็นจริงได้
          (Plausible) ของประเทศไทยในอนาคตในมิติส�าคัญ ๆ ของประเทศทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ อาทิ คนไทยและโครงสร้างประชากร, เศรษฐกิจ
          อุตสาหกรรม และการบริการ, ชนบทและการเกษตรกรรม, โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ, วัฒนธรรมและภาษาไทย, อัตลักษณ์ความเป็นไทย,
          การเมือง และ บริบทโลก ปัจจัยคุกคามและความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น ครอบคลุมทั้งการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้วและสนับสนุน
          การวิจัยเพิ่มเติมในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงการศึกษาจากปัจจัยที่จะมีผลกระทบอันเนื่องมาจากบริบทโลกต่าง ๆ โดยมี
          ภาพอนาคตที่วางอยู่บนรูปแบบพื้นฐานความเป็นจริงของข้อมูลปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น
                 ในการนี้ วช. กับราชบัณฑิตยสภาจึงได้ร่วมกันจัดการประชุมระดมสมองในหัวข้อ “ทิศทางการวิจัยกับประเทศไทยในอนาคต :
          บูรณาการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก ผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส” ขึ้น ในวันที่ 5 กันยายน 2562 เพื่อเป็นเวทีในการหารือ แลกเปลี่ยน
          และน�าเสนอความคิดเห็นทางวิชาการของเครือข่ายขุมก�าลังสมองของประเทศจากราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ และเมธีวิจัยอาวุโส
          ที่จะน�าไปสู่การขับเคลื่อนด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม



             วช. ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร 11 องค์กร จัดการประชุมระดมสมอง สะท้อนความคิด

              นโยบายสิ่งแวดล้อมเมือง...ผ่านงานวิจัย เพื่อส่งต่อ...(ว่าที่) ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร


                 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร
          เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน และทวีความ
          รุนแรงมากขึ้น การเผชิญกับปัญหาในหลายประเด็น
          ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
          ที่อาศัยในพื้นที่ซึ่งการแก้ไขปัญหาต้องใช้องค์ความรู้
          จากงานวิจัย ไปสู่การแก้ปัญหาทางนโยบายและปฏิบัติ
                  ส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันนวัตกรรมบูรณาการ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักเรียนเก่า เอไอที ประเทศไทย วิทยาลัย
          การพลังงานรุ่นที่ 3 บริษัท บางจาก จ�ากัด (มหาชน) กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และมูลนิธิอารยะสถาปัตย์ จัดการประชุมระดมสมอง
          สะท้อนความคิด...นโยบายสิ่งแวดล้อมเมือง...ผ่านงานวิจัย เพื่อส่งต่อ...(ว่าที่) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 กันยายน 2562
          ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร
                 โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อ�านวยการส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวในที่ประชุมฯ ว่า วช. เป็นหน่วยงาน
          ส่งเสริมงานวิจัยและน�าผลวิจัยไปสู่การขยายผลในทางปฏิบัติ ได้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองน่าอยู่และแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง
          หลายแผนงานเป็นเวลามากกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้น�าผลงานวิจัยมาชี้ประเด็นถึงการพัฒนากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมือง
          ที่มีความซับซ้อน มีมลพิษ จ�าเป็นต้องให้องค์ความรู้จากงานวิจัยมาช่วยในการแก้ไข ทั้งนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครจะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
          กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 11 ซึ่งทุกพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันก�าลังจัดเตรียมนโยบาย จุดขาย เพื่อใช้ในการหาเสียงที่เจาะใจเข้าถึง
          คนกรุงเทพมหานครให้ได้ฐานเสียงมากที่สุด และต้องการข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ผ่านการประมวล และวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว
                 ในการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่งานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ น�าไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งเพื่อให้ (ว่าที่)
          ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงความส�าคัญและปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในกรุงเทพมหานคร และก�าหนดเรื่อง
          ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ในนโยบายหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีส่วนในการบอกกล่าว
          ให้ผู้ที่จะสมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าใจถึงปัญหากรุงเทพมหานคร ความต้องการ และความคาดหวังของคนไทยทั้งประเทศ
          ต่อบทบาทของกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวง โดยคาดหวังว่าจะมีบทบาทส�าคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกมิติ ให้เป็นเมืองหลวง
          ในฝันของประชาชนในอีก 4 ปี ข้างหน้า

                                                                                    สำ�นักง�นก�รวิจัยแห่งช�ติ (วช.)
         14                                                                         National Research Council of Thailand (NRCT)
   9   10   11   12   13   14   15   16