Page 11 -
P. 11

กิจกรรม วช.




                          วช. - KETEP - สกสว.

          ผลักดันความร่วมมือไทย – เกาหลี ด้านพลังงาน





                ส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ The Korea Institute of
         Energy Technology Evaluation and Planning (KETEP) และ ส�านักงาน
         คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ส่งเสริมและ
         สนับสนุนโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านพลังงาน โดย KETEP เป็นหน่วยงาน
         ให้ทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงาน ในสังกัดกระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade,
         Industry & Energy) สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีบทบาทในการวางแผนนโยบายเทคโนโลยีพลังงาน บริหารจัดการและประเมินผลโครงการ
         ด้านพลังงาน และความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี วช. ในฐานะหน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลัก
         ของประเทศ ได้ร่วมผลักดันการวิจัยที่ตอบโจทย์นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงาน
         สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์สร้างเสริม
         ความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งนี้ สกสว. จะท�าหน้าที่พิจารณากรอบนโยบายและงบประมาณในการด�าเนินงาน และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
         ดังกล่าวข้างต้น วช. KETEP และ สกสว. จึงได้ลงนาม (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการด้านพลังงาน ระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย
         ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อ�านวยการส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ, RIM Chun Taek, President, KETEP และ
         ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อ�านวยการส�านักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในวันที่ 2
         กันยายน 2562 ณ ห้อง President 2 ชั้น 4 โรงแรม Intercontinental โดยมี Ms. Yoo Myung - hee รัฐมนตรีการค้า (Minister for
         Trade) กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy, MOTIE) สาธารณรัฐเกาหลี และ
         รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน




                                  วช. ยกระดับผลงานวิจัยน�าธุรกิจอาหารไทยสู่มาตรฐานโลก












                                                           โครงการวิจัยที่ส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้การสนับสนุน
                                                  จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ท�าให้เกิดการสร้างเครือข่ายการร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย
                                               ใหม่ ๆ ที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ ซึ่งโครงการ “วิจัยพัฒนามาตรฐานการผลิต
                                           เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ และผลิตภัณฑ์คงรสชาติแท้จากความหลากหลายทางชีวภาพ
          ของพืชผักและสมุนไพรเพื่อรักษาคุณค่าเชิงรสชาติไทยแก่ธุรกิจอาหารไทยทั่วโลก” ภายใต้แผนงานวิจัยครัวไทยสู่ตลาดโลก
          ปีงบประมาณ 2560 ที่ วช. ได้ให้การสนับสนุน มีนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา แห่งมูลนิธิส�านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
          เป็นหัวหน้าโครงการ สามารถขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะน�าเทคโนโลยีไปผลิตและจ�าหน่าย
          ในเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถน�าไปใช้ประโยชน์ได้ทันท่วงที ผลจากงานวิจัยส่วนหนึ่ง คือกระบวนการผลิต ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
          อบแห้งของพืชสมุนไพรจากต้นตอแหล่งก�าเนิดส�าหรับอาหารไทย 4 ชนิด ประกอบด้วย พริกไทยสด พริกขี้หนู หอมแดง และกระเทียม
          ที่ใช้เทคนิคแช่เยือกแข็ง (Freeze Dry) และอบแห้งด้วยลมร้อน (Tray Dry) ซึ่งสามารถแก้ปัญหาการส่งออกวัตถุดิบในสภาพสด สามารถ
          ทดแทนการใช้วัตถุดิบที่คงรสชาติอาหารไทยแบบดั้งเดิม ทั้งรสชาติและกลิ่น ผลิตจากแหล่งก�าเนิดที่มีมาตรฐานปลอดภัย ตรวจสอบ
          ได้ รวมถึงมีความสะดวกในการใช้งาน และปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน ดังนั้น เพื่อให้เกิดขยายผลผลิตจากการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
          แก่ผู้บริโภค ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อ�านวยการส�านักงานการวิจัยแห่งชาติ จึงได้
          ลงนามบันทึกข้อตกลงการถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อบแห้งของพืชสมุนไพรส�าหรับอาหารไทย 4 ชนิด ภายใต้
          แผนงานวิจัยครัวไทยสู่ตลาดโลก ร่วมกับ นายสุพัชระ ปานรศทิพ กรรมการผู้จัดการบริษัท เค เอส อินเตอร์เทรด (2018) จ�ากัด
          ในวันที่ 11 กันยายน 2562 ณ ห้องวิภาวดี C โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร เพื่อน�าไป
          ผลิตและจ�าหน่ายให้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป

         สำ�นักง�นก�รวิจัยแห่งช�ติ (วช.)
         National Research Council of Thailand (NRCT)                                                         11
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16